ลิ้งค์
พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระพิมพ์ที่ฐานของพระพุทธนวราชบพิตร

พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน หรือเรียกว่า พระจิตรลดา เป็นพระพิมพ์ทีฐานของพระพุทธนวราชบพิตร  

พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (หรืออาจเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา, พระจิตรลดา) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา (เป็นภาพพระของเพื่อนคนหนึ่งคนใดที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน) โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อพ.ศ. 2514


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นข้าราชการในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในงานด้านประติมากรรมเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย

 

พระสมเด็จจิตรลดา 

  พิมพ์ครั้งที่ ๑๖  

ว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร

 

http://nantadej.cz.cc/

 

nantadejczcc@gmail.com

 

วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕

 

 

พระสมเด็จจิตรลดา    สมเด็จจิตรลดา   พระจิตรลดา  พระกำลังแผ่นดิน      

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

 

ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์     ( พุทธศักราช ๒๕๐๘ - ๒๕๑๓ )

 

ผู้ที่มีพระกำลังแผ่นดินบูชามาถึงทุกวันนี้ควรยึดมั่น

และปฏิบัติด้วยการสร้างคุณงามความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

เสมือนการปิดทองหลังพระ ชีวิตก็จะประสบความเจริญรุ่งเรืองอย่างแน่นอน

การปิดทองหลังพระ เปรียบเสมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนจงหมั่นสร้างความดี

โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ความดีนั้นย่อมปรากฎและสนองผล

ต่อผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นสัจจธรรม

 

พระสมเด็จจิตรลดา

 

ดาวน์โหลดหนังสือพระสมเด็จจิตรลดา  คลิกที่นี่

คำนำ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ )

บทนำ

 

พระสมเด็จจิตรลดา (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นต้นมา เดิมเรียกว่า พระพิมพ์ พระกำลังแผ่นดิน สมเด็จจิตรลดา พระจิตรลดา พระสมเด็จจิตรลดา) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ พระราชทานแก่ทหาร ทหารรักษาพระองค์ (ภาพทหารรักษาพระองค์๑ ภาพทหารรักษาพระองค์๒) ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม  ได้ตระหนักถึงเกียรติ วินัย กล้าหาญ ศักดิ์ศรี หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ภาพลักษณ์ ทัศนคติ การให้บริการประชาชน มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดี รวมถึงการเผยแพร่เกียรติคุณ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กระทำความดีตลอดไป เพื่อให้วันที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำ และเป็นที่ยอมรับของข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๓ มีจำนวน ๒,๕๐๐ องค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พร้อมกับจัดพิมพ์เอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงรายละเอียดส่วนบุคคลของผู้ได้รับพระราชทาน ได้แก่ ชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และมีรูปภาพพระสมเด็จจิตรลดา โดยที่รูปภาพบนใบกำกับพระ เป็นรูปภาพพระสมเด็จจิตรลดาของคนอื่น ที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา พอสรุปได้ ดังนี้ "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ (เสียงเพลงความฝันอันสูงสุด) (เสียงเพลงความฝันอันสูงสุด) (เสียงเพลงพระราชนิพนธ์) (เสียงเพลงพระราชนิพนธ์) (เสียงเพลงพระราชนิพนธ์)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ (ประติมากรรม) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๙ แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย

 

ข้อมูลจำเพาะ

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง ๓ ด้าน เฉียงป้านทำมุม ๔๕ องศา ออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี ๒ ขนาดพิมพ์

1.  พิมพ์เล็ก กว้าง ๑.เซนติเมตร สูง ๒.๑ เซนติเมตร หนา ๐.๕ เซนติเมตร

2.  พิมพ์ใหญ่ กว้าง ๒.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๒ เซนติเมตร หนา ๐.๑.๐ เซนติเมตร

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระปางสมาธิ ประติมากรรมไทยศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง ๙ กลีบ และเกสรดอกบัว ๙ จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

        พระพุทธนวราชบพิตร มีลักษณะคล้ายกับ พระพุทธรูป ภปร เป็นปางมารวิชัย ต่างกันที่ฐานบัลลังก์และผ้าทิพย์ ลักษณะพระพักตร์และความอ่อนช้อยงดงาม ที่ดูเข้มแข็ง (ข่าวทางโทรทัศน์ช่อง ๗ พิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิธประจำจังหวัดสตูล)

พระสมเด็จจิตรลดา มีหลายสี ตามรุ่นที่ผลิต ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

พระพิมพ์จิตลดามีหลายเนื้อ ทั้งแบบหยาบ แบบหยาบปนละเอียด หรือแบบละเอียด ขึ้นอยู่กับปีที่ทรงสร้างพระ  แล้วทรงนำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ผสมรวมกับตัวประสานหลักที่ทรงในการสร้างพระ โดยใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น(เป็นพลาสติกในรูปของเหลว) และฮาร์ดเดนเนอร์(ตัวทำให้แข็ง) หรือที่เรียกกันว่า คะตะลิสต์(ตัวเร่งปฏิกิริยา) เมื่อใส่สารเร่งปฏิกิริยาบางชนิดลงไปในเนื้อของเรซิ่น จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น โดยการเปลี่ยนสภาพจากพลาสติกเหลวเป็นพลาสติกแข็งใส หรืออมเหลือง อมแดงแล้วแต่ชนิดของวัตถุดิบที่ทรงใช้ โดยตามธรรมชาติของเรซิ่นแล้วเกิดเป็นความมันวาว มีเนื้อพลาสติกใส ไม่มีสีและเมื่อถูกผสมกับตัวเร่งปฏิกิริยาจะก่อให้เกิดความร้อน จึงเป็นสาเหตุให้องค์พระส่วนมากปรากฏการประทุของฟองอากาศเป็นรูเล็กๆ หรือไม่ก็เป็นฟองอากาศอยู่บนผิวขององค์พระ

 

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน (พลาสติกเหลวชนิดที่ใช้หล่อแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก เรียกว่า เรซิน) และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวชันยาเรือ(ชัน เป็นผงสีน้ำตาลอ่อนเมื่อผสมกับน้ำมันสนใช้ยาเรือ โดยทาบริเวณรอยต่อของแผ่นไม้ที่ประกอบเป็นตัวเรือป้องกันน้ำเข้ามาในท้องเรือ เรียกว่า ชันยาเรือ)เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน ๑ คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย

ผงพระพิมพ์ประกอบด้วยมวลสาร ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย

ส่วนที่ ๒ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

 

ผงพระพิมพ์ประกอบด้วยมวลสาร ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย

ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) (พระพุทธรูป) และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล

เส้นพระเจ้า(เส้นผมของพระมหากษัตริย์) ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากการทรงเครื่องใหญ่(การตัดผมพระมหากษัตริย์)ทุกครั้ง

ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล

สีน้ำมัน ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์

กาวชันเรือ (ผงชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางใช้อุดรอยรั่วใต้ท้องเรือ ป้องกันน้ำเข้าเรือ) และสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง

 

ส่วนที่ ๒ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย

วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด

ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ (พระพุทธรูป) วัดบวรนิเวศวรวิหาร พระพุทธชินราช (พระพุทธรูป) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

ดอกไม้ ผงธูป เทียน ซึ่งได้ใช้บูชาพระพุทธรูปจากพระอารามหลวงที่สำคัญ

ดินบนใบเสมา ตะไคร่น้ำแห้งบนใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี

ดินบนใบเสมา ตะไคร่น้ำแห้งบนใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

น้ำจากบ่อน้ำ แม่น้ำ สระแก้ว อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก

 

มวลสารผงพระพิมพ์ ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดาถูกนำมาจากทุกจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ประเทศไทย มีจังหวัด จำนวน ๗๑ จังหวัด (ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ๗๗ จังหวัด) ดังนี้

 

 ภาคกลาง (แผนที่ประเทศไทย)

พระนคร (ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร พระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์   (พระพุทธรูป) วัดบวรนิเวศวรวิหาร

ธนบุรี   (ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร) ได้แก่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวัดหงษ์รัตนารามวรวิหาร วัดหงษ์รัตนารามวรวิหาร หลวงพ่อสุข  (พระพุทธรูป)  หลวงพ่อแสน   (พระพุทธรูป)  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิง วัดสวนหลวงสบสวรรค์ วิหารพระมงคลบพิตร

ลพบุรี ได้แก่ ศาลพระกาฬ  ศาลลูกศร  ศาลลูกศร   (ศาลหลักเมืองลพบุรี)  พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท

สิงห์บุรี ได้แก่ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ (พระอาจารย์ธรรมโชติ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี) วัดโพธิ์เก้าต้น  วัดโพธิ์เก้าต้น วัดโพธิ์เก้าต้น   วัดโพธิ์เก้าต้น  วัดโพธิ์เก้าต้น  (ค่ายบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน) วัดสิงห์ (ปัจจุบันชื่อ วัดสิงห์สุทธาวาส) วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร

อ่างทอง ได้แก่ วัดไชโยวรวิหาร วัดป่าโมก

สระบุรี ได้แก่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร วัดพระพุทธฉาย

ปทุมธานี ได้แก่ วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี ผงอิทธิเจและผงปถมํของพระครูสาทรพัฒนกิจ (อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี)

นนทบุรี ได้แก่ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร

สมุทรปราการ ได้แก่ วัดพระสมุทรเจดีย์ ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ  ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ

ราชบุรี ได้แก่ วัดมหาธาตุวรวิหาร (ราชบุรี)

นครปฐม ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

สุพรรณบุรี ได้แก่ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดสนามชัย  วัดสนามชัย วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย  วัดสนามชัย   สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ (สระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา)

กาญจนบุรี ได้แก่ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร วัดท่ากระดาน

เพชรบุรี ได้แก่ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท  พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี พระธาตุจอมเพชร ศาลหลักเมืองเพชรบุรีหลังเก่า  ศาลหลักเมืองเพชรบุรี  ศาลหลักเมืองเพชรบุรี   พระปรางค์วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุวรวิหาร พระราชดำรัสพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรเพชรบุรี

ประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดเขาช่องกระจก วัดธรรมมิการามวรวิหาร  เขาช่องกระจก  เขาช่องกระจก

สมุทรสาคร ได้แก่ ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร ศาลพันท้ายนรสิงห์ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ศาลพันท้ายนรสิงห์

สมุทรสงคราม ได้แก่ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

อุทัยธานี ได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี พระมงคลศักดิ์สิทธิ์  

ชัยนาท ได้แก่ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท วัดธรรมามูลวรวิหาร  วัดธรรมามูลวรวิหาร 

 

 ภาคตะวันออก (แผนที่ประเทศไทย)

ชลบุรี พระพุทธสิหิงค์จำลอง (พระพุทธรูป) พระพุทธสิหิงค์จำลอง (พระพุทธรูป)  พระพุทธสิหิงค์จำลอง (พระพุทธรูป)    วัดป่า  (ปัจจุบันชื่อ วัดอรัญญิกาวาส   วัดอรัญญิกาวาส    วัดอรัญญิกาวาส   วัดอรัญญิกาวาส  วัดอรัญญิกาวาส วัดอรัญญิกาวาส วัดอรัญญิกาวาส )

ฉะเชิงเทรา ได้แก่ พระพุทธโสธร (พระพุทธรูป) วัดโสธรวรารามวรวิหาร  วัดโสธรวรารามวรวิหาร  วัดโสธรวรารามวรวิหาร ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา  ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา  ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา  ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา

ระยอง ได้แก่ ศาลหลักเมืองระยอง ศาลหลักเมืองระยอง  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดระยอง  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตราด ได้แก่ ศาลหลักเมืองตราด  ศาลหลักเมืองตราด  ศาลหลักเมืองตราด   วัดบุปผารามจังหวัดตราด  วัดบุปผารามจังหวัดตราด    วัดบุปผารามจังหวัดตราด    วัดบุปผารามจังหวัดตราด 

จันทบุรี ได้แก่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี  ศาลหลักเมืองจันทบุรี  ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระพุทธบาทเขาคิชกูฏ น้ำในคลองนารายณ์บริเวณหน้าน้ำตกเขาสระบาป (เดิมเรียกว่า น้ำตกสระบาป  ปัจจุบันเรียกว่า น้ำตกคลองนารายณ์ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว น้ำตกพลิ้วน้ำในคลองนารายณ์ น้ำในคลองนารายณ์  น้ำในคลองนารายณ์    คลองสระบาป น้ำจากสระแก้ว ภายในวัดสระแก้ว (ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่)

นครนายก ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครนายก  ศาลหลักเมืองนครนายก  ศาลหลักเมืองนครนายก  พระพุทธบาทจำลอง วัดเขานางบวช   (ตำบลสาริกา) วัดเขานางบวช  วัดเขานางบวช  วัดเขานางบวช  วัดเขานางบวช

ปราจีนบุรี ได้แก่ วัดต้นศรีมหาโพธิ์  วัดต้นศรีมหาโพธิ์  วัดต้นศรีมหาโพธิ์  วัดต้นศรีมหาโพธิ์  วัดต้นศรีมหาโพธิ์

 

ภาคเหนือ (แผนที่ประเทศไทย)

ลำปาง ได้แก่ วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง  พระธาตุลำปางหลวง ยูทูป วัดพระแก้วดอนเต้า  วัดพระแก้วดอนเต้า ยูทูป วัดพระแก้วดอนเต้า ยูทูป  วัดพระแก้วดอนเต้า ยูทูป   (เดิมชื่อ วัดพระแก้วชมพู ปัจจุบันชื่อ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม) วัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง ศาลหลักเมืองลำปาง ศาลเจ้าพ่อประตูผา ศาลเจ้าพ่อหมอกมุงเมือง (ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เรียกว่า หออะม็อก )

แม่ฮ่องสอน ได้แก่ พระธาตุดอยกองมู  วัดพระธาตุดอยกองมู  วัดพระธาตุดอยกองมู วัดพระธาตุดอยกองมู     วัดพระธาตุดอยกองมู  

เชียงราย ได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุง   (ปัจจุบันชื่อ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า)   (ดอยตุง) วัดพระธาตุจอมกิตติ

เชียงใหม่ ได้แก่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระธาตุดอยสุเทพ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรวิหาร   วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดพระสิงห์วรวิหาร  ศาลหลักเมืองเชียงใหม่  ศาลหลักเมืองเชียงใหม่  ศาลหลักเมืองเชียงใหม่  วัดโพธารามมหาวิหาร  (เดิมชื่อ วัดเจดีย์เจ็ดยอด  วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจ็ดยอด) ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง)  ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง)   ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง)  อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย 

น่าน ได้แก่ พระเจ้าทองทิพย์  (พระพุทธรูป) วัดสวนตาล   วัดสวนตาล  วัดสวนตาล   วัดสวนตาล  วัดสวนตาล  พระธาตุแช่แห้ง  พระธาตุแช่แห้ง  พระธาตุเขาน้อย  พระธาตุเขาน้อย พระธาตุปูแจ  (ชื่อทางการหรือชื่ออื่นๆ ชื่อเดิม เรียกว่า พระธาตุปูแจ้ พระธาตุปูแจ้ พระธาตุปูแจ้ พระธาตุปูแจ้ พระธาตุปูแจ้ พระธาตุปูแจง)   พระธาตุจอมแจ้ง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน  วัดพระธาตุจอมแจ้ง จังหวัดน่าน  วัดพระธาตุจอมแจ้ง จังหวัดน่าน จังหวัดน่าน

ลำพูน ได้แก่ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  วัดจามเทวี   (เดิมชื่อ วัดกู่กุด)

แพร่ ได้แก่ ศาลหลักเมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ

ตาก ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก

พิษณุโลก ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินราช (พระพุทธรูป)   วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

สุโขทัย ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย วัดมหาธาติ จังหวัดสุโขทัย  วัดมหาธาติ จังหวัดสุโขทัย  น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว  น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย วัดต้นจันทร์ วัดต้นจันทร์   วัดต้นจันทร์   วัดต้นจันทร์  วัดต้นจันทร์  วัดต้นจันทร์ วัดต้นจันทร์ (ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย รูปภาพเล่าเรื่องเมืองสุโขทัย)

กำแพงเพชร ได้แก่ วัดพระบรมธาตุ วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

พิจิตร ได้แก่ หลวงพ่อเพชร (พระพุทธรูป) วัดท่าหลวง

เพชรบูรณ์ ได้แก่ วัดไตรภูมิ ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชา  พระพุทธมหาธรรมราชา 

นครสวรรค์ ได้แก่ วัดวรนาถบรรพต  (วัดเขากบ) วัดวรนาถบรรพต วัดวรนาถบรรพต วัดวรนาถบรรพต วัดวรนาถบรรพต

อุตรดิตถ์ ได้แก่ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล) วัดพระบรมธาตุ วัดท่าถนน (พระหลวงพ่อเพชร (พระพุทธรูป)

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นครราชสีมา ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปราสาทหินพิมาย วัดศาลาทอง วัดพนมวันท์ ปราสาทหินพนมวัน ศาลเจ้าแม่ทับทิมบริเวณบุ่งตาหลัว (เดิมเรียกว่า ศาลเจ้าแม่บุ่ง ในบริเวณสระน้ำขนาดใหญ่ชื่อ บุ่งตาหลั่ว ปัจจุบันเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ทับทิม ) (ปัจจุบันเรียกว่า ลานนวมินทร์ สวนน้ำเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ (บุ่งตาหลั่ว) จังหวัดนครราชสีมา) ศาลเจ้าพ่อไฟ (สถานที่ใกล้เคียง ได้แก่ ตรอกสระแก้ว ถนนสรรพสิทธิ์ ตรงข้ามวัดสระแก้ว ใกล้โรงพยาบาลโกลเด้นเกท อำเภอเมืองนครราชสีมา) ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง วัดแจ้งใน วัดแจ้งใน  วัดแจ้งใน  (สถานที่ใกล้เคียงศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ยืนอยู่ที่สี่แยกเต็กฮะ ศาลเจ้าพ่ออยู่ทางทิศตะวันออกประมาณ 10 เมตร อยู่ทางทิศตะวันออกของสี่แยกเต็กฮะ ได้แก่ สี่แยกเต็กฮะ โรงเรียนสุขานารี ธนาคารออมสิน อำเภอเมืองนครราชสีมา) ศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว

ชัยภูมิ ได้แก่ พระปรางค์กู่ พระปรางค์กู่ พระปรางค์กู่ พระธาตุกุดจอก พระธาตุหนองสามหมื่น พระเจ้าองค์ตื้อ(พระพุทธรูป) เขาภูพระ วัดศิลาอาส์น เจ้าพ่อพญาแล

บุรีรัมย์ ได้แก่ ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ศาลเทพารักษ์ อำเภอสตึก ศาลเจ้าพ่อวังกรูด เจ้าพ่อวังกรูด อำเภอสตึก ดินจากสังเวชนียสถานต่างๆในประเทศอินเดีย ยูทูป  สังเวชนียสถาน ยูทูป      

สุรินทร์ ได้แก่ หลวงพ่อพระชีว์ พระชีว์  (พระพุทธรูป) หลวงพ่อพระชีว์  วัดบูรพาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรเมือง สุรินทร์ ปี 2498 ยูทูป

 

ศรีสะเกษ ได้แก่ วัดมหาพุทธาราม วัดมหาพุทธาราม  ศาลหลักเมืองศรีสะเกษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเสด็จเยี่ยมราษฎรเมืองศรีสะเกษ สุรินทร์ ปี 2498 ยูทูป กิจกรรมในวัดมหาพุทธาราม

อุบลราชธานี ได้แก่ วัดมหาวนาราม วัดมหาวนาราม พระเจ้าอินทร์แปลง  พระเจ้าอินทร์แปลง ยูทูป (พระพุทธรูป)

อุดรธานี ได้แก่ ศาลเทพารักษ์ ศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ศาลหลักเมืองอุดรธานี ศาลหลักเมืองอุดรธานี  วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี วัดมัชฉิมาวาส จังหวัดอุดรธานี  หลวงพ่อนาค (พระพุทธรูป)

หนองคาย ได้แก่ พระธาตุบังพวน พระธาตุบังพวน พระธาตุบังพวน หลวงพ่อพระใส (พระพุทธรูป) วัดโพธิ์ชัย

เลย ได้แก่ วัดพระธาตุศรีสองรัก

สกลนคร ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  หลวงพ่อพระองค์แสน  หลวงพ่อพระแสน พระองค์แสน  (พระพุทธรูป)

นครพนม ได้แก่ พระธาตุพนม ศาลหลักเมืองนครพนม

ขอนแก่น ได้แก่ พระธาตุขามแก่น

มหาสารคาม ได้แก่ ศาลหลักเมืองมหาสารคาม ศาลหลักเมืองมหาสารคาม

ร้อยเอ็ด ได้แก่ ปรางค์กู่ (เดิมชื่อ พระกู่ บ้านบางกู่ อำเภอธวัชบุรี) ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด  ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด ศาลหลักเมืองร้อยเอ็ด พระกู่นา อำเภอสุวรรณภูมิ วัดสระทอง  วัดสระทอง วัดสระทอง วัดสระทอง วัดสระทอง  วัดสระทอง วัดสระทอง  วัดสระทอง วัดสระทอง  พระธาตุเจดีย์อุปมุง  พระธาตุเจดีย์อุปมุง พระธาตุเจดีย์อุปมุง พระธาตุเจดีย์อุปมุง พระธาตุเจดีย์อุปมุง พระธาตุเจดีย์อุปมุง  (ภาพ พังทลายในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ยังไม่ได้บูรณะ ภาพบ้านสร้างบุ ) วัดพระธาตุอุปมุง  อำเภอโพนทอง วัดพระธาตุอุปมุง ตั้งอยู่ที่บ้านสร้างบุ หมู่ 3 ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง  พระพุทธนวราชบพิตรจังหวัดร้อยเอ็ด พระพุทธนวราชบพิตรจังหวัดร้อยเอ็ด พระพุทธนวราชบพิตรจังหวัดร้อยเอ็ด

กาฬสินธุ์ ได้แก่ ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์

 

 ภาคใต้ (แผนที่ประเทศไทย)

ชุมพร ได้แก่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี

นครศรีธรรมราช ได้แก่ พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

สุราษฎร์ธานี ได้แก่ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

ระนอง ได้แก่ วัดอุปนันทาราม (เดิมชื่อ วัดด่าน)

กระบี่ ได้แก่ ถ้ำพระ ถ้ำพระ ภูเขาถ้ำพระ (ปัจจุบันเรียกว่า อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี) เขาขนาบน้ำ

พังงา ได้แก่ ศาลหลักเมืองพังงา เทวรูปพระนารายณ์ วัดนารายณิการาม วัดนารายณิการาม (เทวสถานและเทวรูปพระนารายณ์)

ภูเก็ต ได้แก่  รอยพระพุทธบาทจำลอง บนเกาะแก้ว อยู่บริเวณที่ใกล้กับหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต วัดพระทอง (เดิมชื่อ วัดพระผุด) หลวงพ่อแช่ม (อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยธาราราม เดิมชื่อ วัดฉลอง) วัดไชยธาราราม (เดิมชื่อ วัดฉลอง)

สงขลา ได้แก่ วัดชัยมงคล วัดชัยมงคล สงขลา วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา  วัดราชประดิษฐาน (เดิมชื่อ วัดพะโคะ) ศาลหลักเมืองสงขลา ศาลหลักเมืองสงขลา แผนที่ศาลหลักเมืองสงชลา

ตรัง ได้แก่ วัดถ้ำเขาสาย วัดถ้ำคีรีวิหาร  พระว่านศักดิ์สิทธิ์ (พระพิมพ์ ปรุงด้วยว่าน ๒๐๐ ชนิด พระว่าน พระว่าน ว่าน) วัดถ้ำพระพุทธ

พัทลุง ได้แก่ วัดบางแก้ว (พระธาตุวัดบางแก้ว พระธาตุวัดเขียนบางแก้ว เดิมชื่อ วัดตะวัดเขียน ปัจจุบันชื่อ วัดบางแก้ว)

สตูล ได้แก่ วัดชนาธิปเฉลิม (เดิมชื่อ วัดมำบัง) วัดสันติวราราม วัดสันติวราราม วัดสันติวราราม วัดหน้าเมือง (แผนที่วัดหน้าเมือง) วัดดุลยาราม

ปัตตานี ได้แก่ ศาลหลักเมืองปัตตานี วัดราษฎร์บูรณะ (เดิมชื่อ วัดช้างให้ ปัจจุบันชื่อ วัดราษฎร์บูรณะ)

ยะลา ได้แก่ วัดคูหาภิมุข ศาลหลักเมืองยะลา

นราธิวาส ได้แก่ วัดพระพุทธ อำเภอตากใบ

 

 พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก สำหรับพระราชทาน มีจำนวน ๔๐ องค์ พระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก เป็นเวลา ๒ ปี ได้แก่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และ พ.ศ. ๒๕๐๙  

มวลสารและสีของพระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็กมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองปี ทุกองค์ ใบพระราชทาน หรือใบกำกับพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก ซึ่งมีขนาดกว้างประมาณ ๑๒.๗ ซม. ยาว ๑๕.๘ ซม. พื้นสีขาว ด้านบนมีภาพพิมพ์องค์ พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก ขนาดของภาพเท่ากับขนาดพระสมเด็จจิตรลดาองค์จริง รูปภาพของพระสมเด็จจิตรดาเป็นของผู้ได้รับพระราชทานคนอื่น (ภาพที่ไม่ใช่องค์ที่พระราชทาน

Selaoret aliquam tellus dolor,

dibus eget, elementum cursus eleifend, elit. Aenean auctor wisi et urna. Aliquam erat volutpat Duis ac turpis. Integer rutrum ante lacus. Quisque nulla. Vestibulum libero nisl portavel, scelerisque eget, maluada at, neque. Vivamus eget nibh
dictum magna. Selaoret aliquam tellus dolor,

elementum cursus eleifend, elit. Aenean auctor wisi et urna. Aliquam erat volutpat Duis ac turpis. Integer rutrum ante lacus. Quisque nulla. Vestibulum libero nisl portavel, scelerisque eget, maluada at, neque.
Mauris fermentum dictum magna.

Selaoret aliquam tellus dolor, dibus eget, elementum cursus eleifend, elit.Vestibulum libero nisl portavel, scelerisque eget, maluada at, neque.

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  12,181
Today:  2
PageView/Month:  53

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com